ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคมมาตรา 33 หรือ กลุ่มพนักงานเอกชน มีจำนวนมากถึง 11,295,514 รายทั่วประเทศ
ตามปกติผู้ประกันตนมาตรา 33 จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ ในอัตราเดือนละ 5% หรือสูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทน 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย เสียชีวิต ว่างงาน คลอดบุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ สงเคราะห์บุตร
จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดและสภาพเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่ผ่าน ผู้ประกันตนมาตรา 33 หลายคนได้กลายเป็นผู้ว่างและมีสิทธิรับเงินทดแทนระหว่างว่างงานจากกองทุนประกันสังคม แต่กลับมีประกันสังคมมาตรา 33 กลุ่มหนึ่งไม่ได้รับเงินดังกล่าว เนื่องจากส่งเงินสมทบฯ ไม่ครบ 6 เดือนตามเงื่อนไข
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงอนุมัติโครงการชดเชยลรายได้แก่ลูกจ้างสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จำนวน 15,000 บาท ให้ผู้ประกันสังคมกลุ่มนี้
ใครได้รับ 15,000 บาทบ้าง?
ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 59,776 คน ที่เพิ่งว่างงานประมาณเดือนเมษายน 2563 และจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ทำให้ไม่ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานจากกองทุนประกันสังคม และไม่ได้รับเงินเยียวยาจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้เงินชดเชยเท่าไหร่?
ครม. เห็นชอบให้ สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ประกันตนกลุ่มนี้จำนวน 5,000 บาท 3 งวด คือ งวดเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2563 รวม 15,000 บาท ซึ่งจะจ่ายเงินทั้งหมดเพียงครั้งเดียว โดย กระทรวงการคลัง คาดว่าน่าจะจ่ายได้ 3-4 สัปดาห์หลังจาก ครม. เห็นชอบ หรือประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2563
เงินมาจากไหน?
โครงการนี้จะใช้งบประมาณทั้งหมด 896.64 ล้านบาท นำมาจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19
ประกันสังคมมาตรา 33 ที่เหลือทำยังไง?
สำหรับ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั่วไปที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 6 เดือน สามารถรับเงินทดแทนกรณีว่างงานได้ตามปกติ
โดยล่าสุดรัฐบาลได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนระหว่างว่างงานแก่ประกันสังคมมาตรา 33 ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง เป็นระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อรองรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
1.ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 70% ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 200 วัน ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน จากเดิมจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างเงินกรณีถูกเลิกจ้างในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ปีละไม่เกิน 180 วัน
2.ผู้ประกันตนลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 45% ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน จากเดิมจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย ปีละไม่เกิน 90 วัน
กรณีที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุตามข้อ 1 หรือเหตุตามข้อ 1 และ 2 เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 200 วัน
แต่ในกรณีขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเหตุตามข้อ 2 เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend FollowJuly 24, 2020 at 09:54AM
https://ift.tt/2ZVJPKs
ประกันสังคมมาตรา 33 ใครมีสิทธิ์ได้เงินชดเชยว่างงาน 15,000 บาท? เช็คเลย! - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/3ef9hjd
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ประกันสังคมมาตรา 33 ใครมีสิทธิ์ได้เงินชดเชยว่างงาน 15,000 บาท? เช็คเลย! - thebangkokinsight.com"
Post a Comment