เกณฑ์ทหารเป็นหน้าที่ของชายไทย ตามภาษาราชการเรียกว่า “การตรวจเลือกทหาร” ซึ่งก่อนคุณจะได้รับจดหมายไปที่บ้าน ควรทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือก และการเกณฑ์ทหารเสียก่อน เพื่อที่จะสมัครคัดเลือก หรือรับการผ่อนผัน
ตามกฎหมาย พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดให้ชายไทยต้องเข้ารับราชการทหารทุกคน โดยชายไทยทุกคนต้องเข้าใจหน้าที่การลงบัญชีทหารกองเกิน การรับหมายเรียก การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ การเรียกพล การระดมพล และการปลดชายไทย ซึ่งคุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงกลาโหม
ใครบ้างที่ต้องเกณฑ์ทหาร
- ผู้ที่เกิดโดยพ่อที่มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในประเทศไทย หรือที่ต่างประเทศ
- ผู้ที่เกิดโดยมีมารดาสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาไม่มีสัญชาติ
- ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย (ยกเว้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้แทนทางการทูต)
- ผู้ที่เปลี่ยนแปลงสัญชาติเป็นไทย
- ผู้ที่ได้คืนสัญชาติเป็นไทยตั้งแต่อายุครบ 17 ปี ย่าง 18 ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารในอำเภอที่กฎหมายกำหนด
เกณฑ์ทหารวันไหน
โดยปกติแล้วช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาที่หนุ่มๆ วัย 20 ปีบริบูรณ์ต้องมาจับใบดำใบแดง เข้ารับการคัดเลือกเป็นทหาร แต่การเกณฑ์ทหาร 63 นี้ถูกเลื่อนมาในวันที่ 23 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 63 เนื่องจากติดสถานการณ์โควิด-19
เกณฑ์ทหารอายุกี่ปี
แม้ว่าการเกณฑ์ทหารจะต้องทำตอนอายุ 20 ย่าง 21 ปี แต่ก่อนหน้านี้ต้องมีการลงทะเบียนบัญชีทหารกองเกินก่อน ดังนี้
- อายุ 17 ปีบริบูรณ์ (ย่าง 18 ปี) ชายไทยแสดงตนขึ้นทะเบียนทหารภายในปี พ.ศ. นั้น
- อายุ 20 ปีบริบูรณ์ (ย่าง 21 ปี) รับหมายเรียก เพื่อไปแสดงตนที่อำเภอท้องถิ่นที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ใน พ.ศ. นั้น
- เข้ารับการตรวจคัดเลือก (เกณฑ์ทหาร) ตามวันและเวลาที่กำหนดในหมายเรียก
- เข้ารับการเรียกพลทหารกองหนุน เข้ารับการฝึกวิชาทหาร ตามที่กำหนด
ขั้นตอนการเกณฑ์ทหาร
หนังสือหมายเรียก สด. 35 จะระบุวันและเวลาจัดการคัดเลือกเกณฑ์ทหารไว้ ดังนั้นผู้ที่ได้รับหนังสือเรียกในปี พ.ศ. นั้นจะต้องเดินทางไปสถานที่ที่กำหนด ตามขั้นตอนดังนี้
- เดินทางไปยังสถานที่ตรวจเลือกทหารกองเกิน ในเวลา 07.00 น.
- ประธานตรวจคัดเลือก จะชี้แจงรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับการตรวจเลือกทหาร
- สัสดีจะชี้แจงขั้นตอน รวมถึงสิทธิต่างๆ ของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการ
- กรรมการเรียกชื่อเข้ารับการตรวจเลือก
- แพทย์ตรวจร่างกาย
- หากได้รับการคัดเลือก ด้วยการจับได้ใบแดง หรือสมัครเป็นทหารเอง สัสดีจะส่งตัวต่อให้นายอำเจอ หรือผู้อำนวยการเขต หรือปลัดอำเภอ ออกหมายนัดรับราชการทหารตามผลัดที่จับสลากได้
ข้อยกเว้นการเกณฑ์ทหาร
บุคคลที่ได้รับการยกเว้น มีรายละเอียดดังนี้
- บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการ
- บุคคลที่มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ
- พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ชั้นเปรียญ นักบวชนิกายมหายาน
- บุคคลที่ได้รับการยกเว้น เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้วไม่เรียกมาตรวจเลือกรับราชการทหารในยามปกติ
- สามเณร ภิกษุ นักบวชพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
- นักบวชศาสนาอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
- บุคคลที่ผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหาร (เรียน รด.) ครบตามหลักสูตรที่กำหนด
- นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร กระทรวงกลาโหม
- ครู ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญไว้ให้
- นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
- นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม
ขอผ่อนผันเกณฑ์ทหาร
กรณีชายไทยยังอยู่ในระหว่างการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ
หากคุณไม่สามารถเดินทางไปตรวจคัดเลือกเกณฑ์ทหารได้ในวันและเวลาที่กำหนด เนื่องด้วยกำลังศึกษา ผู้ปกครองสามารถดำเนินการแทนได้โดยจะได้ระยะเวลาผ่อนผันตามจำนวนปีที่ศึกษาจนกว่าจะจบการศึกษา โดยใช้เอกสารยื่นต่อสัสดีตามภูมิลำเนา ดังนี้
เอกสารการผ่อนผันเกณฑ์ทหารกรณีศึกษาอยู่
- สด. 9 และ สด. 35
- หนังสือรับรองการศึกษา หากเป็นภาษาต่างประเทศต้องขอฉบับแปลเป็นภาษาไทย
- หากศึกษาอยู่ต่างประเทศ ต้องขอหนังสือรับรองของสถานทูต หรือ สถานกงสุลไทยในประเทศที่กำลังศึกษาอยู่
กรณีติดราชการ
หากคุณอยู่ระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ หรือปฏิบัติงานทางราชการตามที่กำหนดนี้ จะได้รับการผ่อนผันจากรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ที่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ได้แก่
ผู้ที่เดินทางไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาแบบปัจจุบันทันด่วน
ข้าราชการ หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ ระหว่างที่มีสงคราม ในการดูแลควบคุมของกระทรวงกลาโหม
บุคคลที่กำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม
กรณีป่วย เกิดเหตุสุดวิสัย และอื่นๆ
กรณีที่ถึงวันที่ต้องเข้ารับการคัดเลือกเกณฑ์ทหาร แล้วคุณไม่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ ในวันและเวลาที่กำหนดได้ ต้องให้บุคคลที่บรรลุนิติภาวะ ดำเนินการแจ้งกับสัสดี หรือคณะกรรมการคัดเลือกในวันคัดเลือกเกณฑ์ทหาร หากไม่ยื่นแจ้ง ถือว่ามีความผิด
หากไม่ได้ไปเกณฑ์ทหาร จะเป็นอะไรไหม
เมื่อไปรับการคัดเลือกเกณฑ์ทหารในวันและเวลาที่กำหนด หรือยื่นผ่อนผัน ขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร จะได้รับเอกสารรับรองผลการตรวจคัดเลือก หากคุณไม่ได้อยู่เกณฑ์ทหารจนจบกระบวนการจะไม่ได้รับเอกสารนี้ นอกจากจะมีผลต่อการสมัครงานในอนาคตแล้ว ยังได้รับโทษปรับและจำคุกได้อีก
โทษของการไม่มาเกณฑ์ทหาร มีตั้งแต่โทษที่เกี่ยวข้องกับการทำเอกสารที่เจ้าหน้าที่ออกให้ชำรุดเสียหาย จนถึงโทษที่เกี่ยวข้องกับการไม่มารายงานตัว อายุความของโทษหนีทหาร มีอายุความ 10 ปี เพราะฉะนั้นควรไปรายงานตัวหรือยื่นผ่อนผันตามความเหมาะสม
ที่มา : กองทัพบก กระทรวงกลาโหม
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
July 24, 2020 at 01:47PM
https://ift.tt/2ZWJ6IE
เกณฑ์ทหารคืออะไร และใครได้รับข้อยกเว้นการเกณฑ์ทหาร - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3ef9hjd
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เกณฑ์ทหารคืออะไร และใครได้รับข้อยกเว้นการเกณฑ์ทหาร - ไทยรัฐ"
Post a Comment